วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

chinatown london


 Chinatown london
     
          ไชน่าทาวน์ ณ มหานครลอนดอน ประเทศอังกฤษ หรือที่หลายคนเรียกว่า “โซโห” (Soho) ตามชื่อของย่านที่เป็นถิ่นที่ตั้งของชุมชนคนจีนแห่งนี้นั้น แต่เดิมไม่ได้อยู่ในย่านโซโหเหมือนเช่นทุกวันนี้ แต่อยู่ในเขตไลม์เฮ้าส์ (Limehouse) โดยช่วงศตวรรษที่ 20 คนจีนในลอนดอนยังมีน้อยอยู่ จึงรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มย่อยๆ โดยส่วนหนึ่งก็เริ่มทำธุรกิจเล็กๆ เปิดร้านรวงเพื่อขายของให้กับชาวประมงจีนด้วยกันที่ล่องแม่น้ำเข้ามาค้าขาย ณ แดนผู้ดี สมัยนั้นไชน่าทาวน์ไม่ได้เป็นที่รู้จักในทางบวกมากนัก เมื่อคนอังกฤษพูดถึงชุมชนคนจีนต่างพากันนึกถึง ฝิ่น บ่อน และชุมชนแออัด ไม่เหมือนสมัยนี้ ที่ไชน่าทาวน์ในการรับรู้ของคนทั่วไป หมายถึงร้านอาหารจีน เป็ดย่าง บะหมี่ ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านขายของสวยๆงามๆ สภาพเสื่อมโทรมของไชน่าทาวน์ย่านไลม์เฮ้าส์ ดำรงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะถูกทำลายจากระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่คนจีนส่วนหนึ่งก็ยังอดทนอยู่ต่อไปเนื่องจากไม่รู้จะไปหาที่ซุกหัวนอนที่ไหน อย่างไรก็ตาม หลังสิ้นสุดสงคราม ซึ่งอังกฤษเป็นผู้ชนะในฐานะแนวร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรคนจีนเริ่มไหลทะลักเข้ามาในลอนดอนมากขึ้น โดยเฉพาะคนจีนจากฮ่องกง ซึ่งไหลบ่าเข้ามากันเป็นจำนวนมาก จากวันนั้นจนถึงวันนี้ไชน่าทาวน์ลอนดอน ได้กลายเป็นถิ่นที่อยู่ของคนจีนกวางตุ้งไปโดยปริยาย (คนจีนในฮ่องกงเป็นจีนกวางตุ้งเกือบทั้งนั้น)

จากไชน่าทาวน์เดิมในย่านไลม์เฮ้าส์ ด้วยปริมาณคนจีนในลอนดอนที่มากขึ้น จึงเริ่มขยายวงเกิดเป็นชุมชนและร้านอาหารจีนกระจายตัวออกไปในที่ต่างๆ ก่อนที่ในทศวรรษ 1970 จะพากันย้ายถิ่นฐานมาสร้างเป็นไชน่าทาวน์ใหม่ ณ ย่านแชฟท์บิวรี่ (Shaftesbury Avenue) ในปัจจุบัน โดยตั้งชุมชนเรียงรายอยู่สองฟากฝั่งของถนนเจอร์ราร์ด (Gerrard Street) ทำให้พื้นที่โซโห ซึ่งเป็นบริเวณที่คนไม่ได้พลุกพล่านมากนักในวันเก่าก่อน กลายเป็นศูนย์กลางของกรุงลอนดอน และเป็นชุมชนของคนเอเชียผิวเหลือง ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจนถึงทุกวันนี้

ในปี 2005 ที่ผ่านมา โรสวีล บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้เสนอแผนที่จะเข้ารื้อปรับโครงสร้างของไชน่าทาวน์ฝั่งตะวันออก แต่แผนการนี้ถูกต่อต้านจากบรรดาคนจีนและเจ้าของร้านค้าปลีกจำนวนมาก เนื่องจากกลัวว่าร้านรวงต่างๆ จะถูกไล่ที่รื้อทิ้งพร้อมกับเสน่ห์และเอกลักษณ์ดั้งเดิมของไชน่าทาวน์ที่จะต้องหายไปนั่นเอง 



ที่มา  http://www.abroad-tour.com/england/london/london_chaina_town.html

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Durham Castle


ปราสาทเดอรัม
       ปราสาทเดอรัม (Durham Castle) เป็นปราสาทแบบนอร์มันในเมืองเดอรัม มณฑลเดอรัม สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ตรงข้ามกับโบสถ์เดอรัม บนยอดเนินเขาเหนือแม่น้ำแวร์บนคาบสมุทรเดอรัม
ปราสาทนี้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 11 เพื่อปกป้องบิชอปแห่งเดอรัมจากการถูกโจมตี เป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์ของปราสาทแบบ mott and bailey ที่ได้รับอิทธิพลของนอร์มัน
ปราสาทนี้ห้องโถงขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นบิชอปแอนโทนี เบค เมื่อต้นศตวรรษที่ 14 เคยเป็นห้องโถงในปราสาทที่ใหญ่ที่สุดในเกาะบิเตน จนกระทั่งบิชอปริชาร์ด ฟอกซ์ ปรับขนาดห้องโถงให้เล็กลงเมื่อสิ้นศตวรรษที่ 15 ห้องโถงปัจจุบันมีความสูง 14 เมตร และยาวมากกว่า 30 เมตร
       ในปี 1837 บิชอปเอ็ดวาร์ด มอล์ทบี ได้มอบปราสาทให้แก่มหาวิทยาลัยเดอรัมเพื่อ เป็นที่พักของนักศึกษา ได้รับการตั้งชื่อว่า University College สถาปนิกแอทโธนี ซาลวิน ได้บูรณะป้อมปราสาทที่พังทลายให้มีลักษณะเหมือนแรกเริ่ม เมื่อครั้งเปิดใช้ในปี 1840 ปราสาทรองรับนักศึกษาได้มากกว่า 100 คน ซึ่งส่วนใหญ่จะพักอาศัยอยู่ในป้อมปราสาท
ปัจจุบันนี้ ห้องโถงใหญ่ของบิชอปเบกถูกใช้เป็นโรงอาหารสำหรับนักศึกษา และห้องใต้ดินของห้องโถงถูกปรับเปลี่ยนเป็นบาร์ วิหารทั้งสองแห่งยังคงใช้งานทั้งในด้านพิธีกรรมทางศาสนาและการแสดงละคร ส่วนอื่นๆของปราสาทถูกใช้เป็นห้องสมุด ในช่วงวันหยุดของวิทยาลัย ปราสาทจะเปิดเป็นโรงแรมและห้องสัมมนา มีเพียงนักศึกษา บุคลากรของโรงแรม และแขกของโรงแรม ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปภายในปราสาทได้

ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A1

          

Tower of London


หอคอยแห่งลอนดอน
          
          หอคอยแห่งลอนดอน (อังกฤษ: Tower of London) เป็นพระราชวังหลวงและป้อมปราการตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเทมส์ในกรุงลอนดอนในอังกฤษ เป็นพระราชวังที่เดิมสร้างโดยพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1078เป็นสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ พระราชวังเป็นรู้จักกันในนามว่า หอคอยแห่งลอนดอนหรือ หอในประวัติศาสตร์ ตัวปราสาทตั้งอยู่ภายในโบโรแห่งทาวเวอร์แฮมเล็ทส์และแยกจากด้านตะวันออกของนครหลวงลอนดอน (City of London) ด้วยลานโล่งที่เรียกว่าเนินหอคอยแห่งลอนดอน หรือ ทาวเวอร์ฮิล” (Tower Hill) หอคอยแห่งลอนดอนมักจะรู้จักกันในการเกี่ยวข้องกับหอขาว(White Tower) ซึ่งแต่เดิมเป็นหอสีขาวที่สร้างโดยพระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 1 แห่งอังกฤษในปี ค.ศ. 1078 แต่กลุ่มสิ่งก่อสร้างทั้งหมดของหอคอยแห่งลอนดอนตั้งอยู่รอบวงแหวนสองวงภายในกำแพงและคูป้องกันปราสาท
ตัวหอคอยใช้เป็นป้อม พระราชวังของพระมหากษัตริย์ และที่จำขังโดยเฉพาะสำหรับนักโทษที่มียศศักดิ์สูงเช่นพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ก็เคยทรงถูกจำขังในหอคอยโดย พระราชินีนาถเมรี และยังเป็นที่สำหรับประหารชีวิตและทรมาน คลังเก็บอาวุธ ท้องพระคลัง สวนสัตว์ โรงกษาปณ์หลวง หอเก็บเอกสาร หอดูดาว และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1303 เป็นที่เก็บรักษามงกุฏและเครื่องราชาภิเษกของ สหราชอาณาจักร


ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%99

Royal Pavilion in London


Royal Pavilion 

          Royal Pavilion เป็นตำหนักเดิมที่ตั้งอยู่ใน ไบรตัน , อังกฤษ  มันถูกสร้างขึ้นในสามแคมเปญเริ่มต้นใน 1787 เป็นสถานที่พักผ่อนริมทะเลสำหรับ จอร์จเจ้าชายแห่งเวลล์ , from 1811 รีเจ้นซ์ปริ้นซ์ มันมักจะเรียกว่าไบรตันพาวิลเลี่ยน มันถูกสร้างขึ้นใน อินโด Saracenic สไตล์ที่แพร่หลายใน อินเดีย ส่วนใหญ่ของศตวรรษที่ 19 ด้วยฟุ่มเฟือยมากที่สุด chinoiserie การตกแต่งภายในที่ดำเนินการเคยอยู่ในเกาะอังกฤษ

ที่มา http://translate.google.co.th/translate?hl=th&langpair=en|th&u=http://en.wikipedia.org/wiki/Royal_Pavilion

Amazing in London


สโตนเฮนจ์ กองหินมหัศจรรย์ ซึ่งอยู่ที่เมืองซัลลิสเบอรี่ มณฑลวิลไซร์ ประเทศ อังกฤษ 
ซึ่งตั้งตระหง่านอยู่แบบนั้นมาเนิ่นนาน โดยที่ยังไม่มีใครหาคำอธิบายได้ ว่าเพราะเหตุใด กองหินรูปทรงประหลาดเหล่านี้ จึงพากันมายืนหยัดอยู่ตรงนั้น จนกระทั่งเมื่อต้นสัปดาห์นี้เอง ศาสตราจารย์ จอฟฟรีย์ เวนไรท์ ประธานสมาคม Society of Antiquaries และศาสตราจารย์ทิโมธี ดาร์วิล ซึ่งเป็นนักโบราณคดีชั้นนำของอังกฤษ เปิดเผยการค้นพบใหม่ว่า จากหลุมฝังศพที่อยู่รอบๆ อนุสาวรีย์หินและสะเก็ดหินโบราณชิ้นเล็กๆ ที่นำไปเป็นเครื่องราง บ่งชี้ว่าในยุคนั้นสโตนเฮนจ์น่าจะมีความสำคัญคล้ายกับวิหารโลเดสในฝรั่งเศส คือเป็นสถานที่สำหรับการรักษาเยียวยาผู้ป่วย เพราะในบริเวณนี้ มีกะโหลกศีรษะมนุษย์ที่เจ็บป่วย หรือได้รับบาดเจ็บมากผิดปกติ และการวิเคราะห์ภาพถ่ายฟัน ก็บ่งชี้ว่าที่พบนั้นราวครึ่งหนึ่งเป็นคนจากที่อื่น

ที่นี่ยังมีการค้นพบกะโหลกศีรษะของคน 2 คน ที่ผ่านการผ่าตัดทำศัลยกรรมในยุคแรกๆ ซึ่งเคยมีขึ้นเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้นในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของอังกฤษ “น่าจะเป็นคนอยู่ในภาวะท้อแท้สิ้นหวังแล้วตอนที่เขามาที่สโตนเฮนจ์” ดาร์วิลกล่าวที่สมาคมโบราณคดีแห่งลอนดอน

“โครงกระดูกของมนุษย์ ที่รู้จักกันในชื่อว่า อเมสเบอร์รี อาร์เชอร์ ที่พบในบริเวณนี้ มีลักษณะของกะโหลกศีรษะเหมือนได้รับบาดเจ็บรุนแรง คาดว่าจะเสียชีวิตในช่วงเวลา ใกล้เคียงกับที่มีการนำหินเหล่านี้มาวางเรียงไว้แบบนี้ การวิเคราะห์กระดูกของอาร์เชอร์บ่งชี้ว่า เขาน่าจะดั้นด้นมาจากแถบเทือกเขาแอลป์” แต่ดาร์วิลก็ยังยอมรับความเป็นไปได้อื่นๆ ว่า “ที่นี่อาจจะเป็นวิหารหรือจะเป็นศูนย์ในการเยียวยารักษาก็ได้”

ที่มา http://www.neutron.rmutphysics.com/news/index.php?option=com_content&task=view&id=682&Itemid=13